วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิบากกรรมที่เห็นด้วยกับการทำบาปของผู้อื่น

หลวงปู่หลุย เมตตาเล่าถึงบุพกรรมที่ทำให้พระอริยเจ้าทั้ง 5 องค์ ต้องเครื่องบินตก
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๓เครื่องบินโดยสารของบริษัทเดินอากาศไทย ประสบอุบัติเหตุตกที่ ต.คลองสี่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี มีผู้โดยสารเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนั้นมีพระอริยะสงฆ์ถึงแก่มรณะภาพ 5 รูป ได้แก่


1.พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร ( พระอาจารย์ วัน อุตุตโม )
วัดถ้ำอภัยดำรง ธรรม อ.ส่องดาว จ.สกลนคร

2.พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) ต.นาแสง อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย

3.พระ อาจารย์ บุญมา ฐิตเปโม
วัดป่าสิริสาลวัน อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี

4.พระ อาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
วัดป่าแก้วชุมพล ต.บ้านชุม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

5.พระอาจารย์ สุพัฒน์ สุขกาโม
วัดป่าประสิทธิ์สามัคคี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

ในเดือนเมษายน พระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม ได้รับอาราธนาจากทางสำนักพระราชวัง กรุงเทพฯ พร้อมด้วยพระคณาจารย์อื่นๆ อีกจำนวน ๔ รูป โดยพระคณาจารย์ทั้งหมดได้ไปรวมกันที่จังหวัดอุดรธานีเพื่อขึ้นเครื่องบิน เพราะลูกศิษย์ลูกหาต้องการถวายความสะดวกและเพื่อความรวดเร็วในการเดินทาง โดยได้ขึ้นเครื่องบินที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๓

ครั้นเมื่อเครื่องบินมาถึงท้องนาทุ่งรังสิต เขตหมู่ที่ ๔ ต.คลองสี่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เหลือระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตรเศษ เครื่องบินได้ตั้งลำและลดเพดานบินเพื่อเตรียมลงสู่สนาม แต่เนื่องจากเครื่องบินได้ประสบพายุหมุนและประกอบกับฝนตกหนัก จึงเสียหลักตกลงที่ท้องนาทุ่งรังสิต มีผู้โดยสารเสียชีวิตจำนวนมาก รวมทั้งพระสงฆ์ทั้ง 5 รูป ท่ามกลางความเศร้าสลดอาลัยของคณะสงฆ์ เพื่อนสหธรรมิก คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นยิ่งนัก ที่ต้องสูญเสียครูบาอาจารย์พระป่ากรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ไปพร้อมกันทีเดียวถึง ๕ รูปด้วยกัน ถือได้ว่าเป็นการสูญเสียของวงการสงฆ์ครั้งใหญ่มากอีกครั้งหนึ่งของเมืองไทย

หลวงปู่หลุย จันทสาโร เมตตาเล่าถึงบุพกรรมที่ทำให้พระอริยเจ้าทั้ง 5 องค์ ต้องเครื่องบินตก 

ในอดีตชาติที่นานมาแล้ว ท่านทั้ง 5 (พระอาจารย์วัน อุตฺตโม พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม และพระอาจารย์สุพัฒ สุขกาโร) เกิดในสกุลชาวนาที่ยากจน ต้องขวนขวายหาเลี้ยงชีพไปวัน ๆ ทั้งห้าคนเป็นเพื่อนที่คุ้นเคยกันมา เมื่อยังเด็กได้จูงควายออกไปเลี้ยงพร้อมกัน ผูกควายกันแล้ว ก็พากันเล่นและออกหากบเขียดไปเป็นอาหารประสาจน

ทีนี้ 1 ใน 5 เกิดไปเห็นรังนกเข้า ก็ช่วยกันหาไม้เขี่ยรังนกให้ตกลงมาเพื่อหวังเอาไข่นกไปกิน แต่เมื่อรังนกตกลงมากลับกลายเป็นลูกนก 3 ตัวแล้วตายสิ้น ไม่ใช่ไข่นกดังที่เข้าใจ



ด้วยวิบากกรรมอันนี้ส่งผลให้ท่านทั้ง 5 ต้องตกจากที่สูงมามรณภาพ

ในเครื่องบินลำนั้นมีคุณหญิงท่านหนึ่งกลับจากไปปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์จวนมาด้วย ท่านเลยมาสิ้นชีวิตพร้อมกัน

ในอดีต ขณะที่เด็กชายทั้ง 5 กำลังเขี่ยรังนกอยู่นั้น เด็กหญิงลูกชาวนาผู้เป็นน้องสาวของ 1 ใน 5 คนก็มายืนเชียร์อยู่ข้าง ๆ

“จะหล่นแล้ว…จะหล่นแล้ว”    โดยเธอไม่ได้ลงมือทำ
เด็กหญิงในภพนั้นคือคุณหญิงในภพนี้ ก็เพียงมีจิตคิดยินดีในการประกอบอกุศลกรรมของผู้อื่น วิบากนั้นยังส่งผลมาให้เกิดในภพชาติเดียวกัน บันดาลให้ไปตกเครื่องบินพร้อมกัน

แล้วถ้าทำเองเล่า?

ถึงตรงนี้ หลวงปู่หลุยก็สั่งว่า อย่าไปยินดีในการทำชั่วของคนอื่น เพราะเราจะมีส่วนในบาปนั้นด้วย แต่ให้ยินดีในการประกอบคุณงามความดีของตนและของคนอื่น เพราะจะได้แต่บุญโดยฝ่ายเดียว

รวบรวมโดย พระอภิวุฒิ ปญฺญาธโร (หลวงพี่หงุ่น) วัดไทรใต้ อ.เมือง จ.นครสวรรค์

from :muangput.coท

วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

กฏแห่งกรรม


ภาษิตจีน สอนใจ


ภาษิตจีน

(love) ๑ "ซุนวู"
" ชมคนด้วยวาจา... มีค่ายิ่งกว่ามอบไข่มุกให้เป็นของขวัญ
ทำร้ายคนด้วยวาจา... สาหัสยิ่งกว่าทิ่มแทงด้วยหอกดาบ.."

(love) ๒ "ฮั่วหลัวเกิง"
" คนอื่นช่วยเรา... เราจะจำไว้ชั่วชีวิต
เราช่วยคนอื่น... จงอย่าจำใส่ใจ "

(love) ๓ "หวังติ้งเป่า"
" มีชีวิตอย่างไร้คุณธรรม... มิสู้ตายอย่างมีคุณธรรม
ได้มาด้วยความคดโกง... มิสู้ยอมเสียอย่างซื่อตรง..."

(love) ๖ "ปาจิน"
" ในชีวิตของเรา... มิตรภาพเปรียบเสมือนโคมส่องสว่างดวงหนึ่ง... ซึ่งสาดส่องจิตวิญญาณของเราให้สว่างไสว ทำให้ชีวิตของเรามีแสงสีอันงดงาม.."

(love) ๗ "หยางว่านหลี่"
" ตัวสกปรกก็คิดจะอาบน้ำ เท้าสกปรกก็คิดจะล้างเท้า แต่ใจสกปรก กลับไม่คิดที่จะชำระใจ..."

(love) ๘ "หูหลินอี้"
" สุขสบายเกินไป... เส้นสายก็พลอยหย่อนยาน จิตใจก็พลอยขลาดกลัว"

(love) ๑๐ "ลู่ซู"
" คนที่เชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป... เป็นคนที่โดดเดี่ยวอ้างว้างที่สุด!"

(love) ๑๑ "ฟังเสี้ยวหยู"
" ไม่มีอะไรแย่เท่ากับความเย่อหยิ่งอวดดี... ผู้ที่คิดว่าตัวเองไม่ดีพอ คือ คนที่ดีพอ... ผู้ที่คิดว่าตัวเองดีแล้ว คือ ผู้ที่ดีไม่พอ...!"

(love) ๑๒ "จางจื้อซิน"
" ต้องกล้าที่จะมองความจริง... แม้ว่าความจริงอาจจะทำให้เราเจ็บปวดมากๆ"

(love) ๑๓ "ซุนยาง"
" ความอิจฉา... เป็นอุปสรรคต่อมิตรภาพ ความระแวงสงสัย... เป็นศัตรูตัวร้ายกาจของความรัก ความรัก... ถ้าปราศจากความซื่อสัตย์จริงใจต่อกันเสียแล้ว ก็ไม่อาจเชื่อถือซึ่งกันและกันได้"

(love) ๑๕ "เผยสงจือ"
" อย่าทำความชั่ว เพราะคิดว่าผิดนิดเดียว... อย่าละเว้นการทำความดี... เพราะคิดว่าได้บุญกุศลแค่นิดเดียว..."

(love) ๑๖ "ซูลิน"
" รู้เหตุผลไม่อับจน รู้กาละไม่ถูกด่า รู้ประหยัดไม่ขัดสน "

(love) ๑๘ "ก่วนจ้ง"
" ขี้เกียจแล้วยังฟุ่มเฟือย... ย่อมยากจน
ขยันและประหยัด... ย่อมร่ำรวย.."

(love) ๑๙ "ขงเบ้ง"
"…สูงส่งแต่ไม่เย่อหยิ่ง ชนะแต่ไม่ลำพอง ปราดเปรื่องแต่รู้จักลงเวที เข้มแข็งแต่มีความอดกลั้น.."

(love) ๒๐ "หลี่ปุ๊เหว่ย"
"...ก่อนที่จะเอาชนะคนอื่น... จักต้องเอาชนะตัวเองให้ได้เสียก่อน 
ก่อนที่จะว่าคนอื่น... ควรพิจารณาดูตัวเองเสียก่อน
ก่อนหน้าที่จะรู้จักคนอื่น... ควรจะรู้จักตัวเองเสียก่อน.."

(love) ๒๑ "เล่าจื้อ"
" ผู้ที่รู้จักคนอื่นเป็นคนฉลาด... ผู้ที่รู้จักตัวเองเป็นคนมีสติ.."

(love) ๒๒ "เหลียงฉี่เชา"
" การตกระกำลำบากเป็นมหาวิทยาลัยชั้นสูงในการฝึกฝนยอดคน..!!"

(love) ๒๓ "ขงจื้อ"
" สิ่งที่ตัวเราไม่ชอบ... จงอย่าทำกับคนอื่น.."

(love) ๒๔ "ซือหม่าเชียน"
" คนที่ทำได้อาจพูดไม่ได้... คนที่พูดได้อาจทำไม่ได้.!!"

(love) ๒๕ "ซือหม่าเชียน"
" คนเราหนีไม่พ้นความตาย... แต่ความหมายการตายนั้น ไม่เหมือนกัน... บ้างมีค่าหนักกว่าขุนเขา... บ้างไร้ค่าเบากว่าขนนก...!"

สว่างตา... ด้วยแสงไฟ
สว่างใจ... ด้วยแสงธรรม

credit from : วัดจำปาสะเอิง

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อานิสงค์ทำบุญวันสารท (แรม1-15ค่ำ เดือน10) ที่มา


ในสมัยพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหารในกรุงรชคฤห์ พระทรงตรัสปรารภพระเจ้าพิมพิสารให้เป็นต้นเหตุ กล่าวคือ ในครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงราชคฤห์วันนั้นท้าวเธอทรงดำริว่า

"มารดาบิดา และญาติทั้งหลายของเราตายไปแล้วจักได้เสวยสุขหรือทุกข์หนอ ? แท้จริงบุคคลที่มีใจบาปกระทำแต่กรรมอันหยาบช้า อกุศลก็ชักนำไปสู่อบาย ส่วนบุคคลที่ขวนขวายในกรรมดีมีสุจริต ครั้นดับจิตลงแล้วก็จะได้ไปสู่สุคติ ส่วนญาติๆของเราพึงมีทุกข์เป็นเบื้องหน้า อย่ากระนั้นเลย พรุ่งนี้เราจักไปทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า"

ครั้นรุ่งเช้า ท้าวเธอก็ได้จัดแจงเครื่องสักการะแล้วเสด็จไปยังสำนักพระบรมศาสดา ครั้นไปถึงก็บูชาด้วยเครื่องสักการะถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง จึงทูลถามว่า “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์มีความปริวิตกว่า มารดาบิดาและหมู่ญาติของข้าพระองค์ผู้ตายไปยังปรโลกแล้วนั้น บางคนก็ ไปสู่ทุคติ บางคนก็ไปสู่สุคติ หากบรรดาญาติของข้าพระองค์ไปทนทุกข์เวทนาอยู่ในทุคติเช่นนั้น ข้าพระองค์จะทำกุศลอะไรอุทิศผลไปให้ พวกญาติจึงจะได้รับผลแห่งบุญนั้นแล้วเสวยสุขสมบัติในโลกสวรรค์’’ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับพระดำรัสของพระเจ้าพิมพิสารดังนั้นแล้วทรงตรัสว่า

“มหาบพิธ ตามที่มหาบพิธรับสั่งมานั้นเป็นคุณประโยชน์มาก คือการที่มหาบพิธจะทำบุญให้ทานแล้วอุทิศผลแก่มารดาบิดาและญาติทั้งหลายนั้น นับว่าเป็นผู้มีน้ำพระทัยประกอบด้วยกตัญญูกตเวทิตาคุณ จัดว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอริยทรัพย์ในบวรพุทธศาสนา หากคนทั้งหลายผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลกได้พากันขวนขวาย ทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนาและสดับฟังพระธรรมเทศนา แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล ไปให้ผู้ดับชีพวายชนม์ไปสู่ปรโลก มีบิดามารดาเป็นต้น คนทั้งหลายนั้นจะได้รับส่วนบุญกุศลโดยพลัน เพราะสัตว์ทั้งหลายที่ไปเสวยทุกขเวทนาอยู่ในนรกจะเป็นกี่ชาติกี่ปีก็ตาม คั้นถึงวันสารท คือเดือนสิบตั้งแต่ แรม1ค่ำ ถึงแรม15ค่ำ นายนิรยบาลทั้งหลายจะปล่อยสัตว์นรกขึ้นมายังมนุษย์โลก เพื่อจะได้รับโมทนาสาธุการ รับเอาส่วนกุศลที่ญาติของตนอุทิศไปให้ ซึ่งสามารถช่วยให้พ้นทุกข์ ได้ไปเสวยสุขในสวรรค์เทวโลก เพราะฉะนั้นเปรตทั้งหลายที่เป็นบิดามารดาและญาติก็จะแล่นมาหาญาติพี่น้องลูกหลานของตนทุกแห่งหนในมนุษย์โลก ครั้นมิได้เห็นญาติพี่น้องลูกหลานของตนทำบุญ ให้ทานรักษาศีล เจริญภาวนาและฟังธรรมเทศนาตลอดจนมิได้เห็นลูกหลานบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ต่างก็พากันเดือดร้อน ร้องไห้รำพันด้วยประการต่างๆมีคำว่า “ พี่น้องลูกหลานของเราช่างไม่มีความเมตตากรุณาเสียเลย เราอุตส่าห์พยายามเลี้ยงมาจนเติบใหญ่ถึงเพียงนี้ ถึงเดือนสารทแต่ละทีๆ พวกเขาก็มิได้มาทำบุญให้ทานฯลฯ... แผ่ส่วนกุศลไปให้เราเลย เราต้องทนทุกข์เวทนาดังเก่า” ดังนี้เป็นต้น.

ส่วนเหล่าสัตว์นรกที่ได้เห็นพี่น้องลูกหลานของตน ทำบุญให้ทานรักษาศีลห้า ศีลแปด ตลอดจนได้บวชลูกหลานไว้ในบวรพระพุทธศาสนาแล้ว ต่างก็พากันยินดีชื่นชมโสมนัสว่า “ คราวนี้เราพ้นจากความเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉานแล้ว จะไดไปเสวยสุขสมบัติในโลกสวรรค์ ด้วยเหตุที่ญาติพี่น้องลูกหลานของเราได้ทำบุญให้ทานอุทิศส่วนกุศลให้เรา” ดังนี้ ครั้นแล้วต่างพากันแซ่ซ้องสาธุการและประสาทพรแก่ลูกหลาน ขอให้มีความสุขความเจริญทั้งโลกนี้และโลกหน้า

พวกที่มิได้เห็นลูกหลานทำบุญทำทานอุทิศส่วนกุศลไปให้ ต่างพากันแช่งด่าด้วยถ้อยคำมีประการต่างๆ เป็นต้นว่า  “ สูเจ้าทั้งหลายจงประสบภยันตรายต่างๆ เช่น ทรัพย์สินที่หามาได้จงอันตรธานสูญหายไป ครั้นตายแล้วขอให้พวกสูเจ้าไปตกมหานรก ทนทุกขเวทนาตลอดกาลนาน เพราะการที่เจ้าทั้งหลายมิได้สนใจทำบุญให้ทาน รักษาศีลห้า ศีลแปด เจริญเมตตาภาวนาแต่อย่างใด เป็นคนประมาทมัวเมา มิได้นำพาเอาใจใส่ประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ดังนี้เป็นต้น

ครั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงสดับพระธรรมเทศนาดังนี้แล้วก็มีพระทัยโสมนัสยินดีเสด็จนิวัติสู่พระราชวัง มีรับสั่งให้จัดแจงวัตถุไทยทานและให้ป่าวประกาศไปยังชาวเมืองให้พากันทำบุญให้ทาน ชาวเมืองต่างจัดแจงไทยทานอันปราณีต แล้วพระราชาพร้อมด้วยอำมาตย์ข้าราชบริพารเสด็จไปยังพระเวฬุวันมหาวิหาร ถวายอาหารบิณฑบาต อังคาสพระสงฆ์มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน เสร็จแล้วได้ทูลอาราธนาสมเด็จพระบรมศาสดาแสดงพระธรรมเทศนา สมเด็จพระบรมศาสดาทรงตรัสพระคาถามีใจความว่า

“ ให้ประชาชนทั้งหลายพากันทำบุญ ให้ทานรักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา แล้วอุทิศส่วนกุศลผลบุญส่งไปให้แก่เปรตชน เมื่อเปรตชนเหล่านั้นได้รับส่วนกุศลและอนุโมทนาด้วยความปลื้มปีติแล้ว จะได้เสวยสุขสมบัติในวิมานทองในแดนสวรรค์เทวโลกสืบต่อไป ส่วนผู้ที่ญาติมิได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ ก็จะต้องกลับไปเสวยทุกขเวทนาในนรกด้วยอำนาจผลแห่งกรรมชั่วในขณะที่เป็นมนุษย์ นับว่าเป็นที่น่าสงสารยิ่งนัก”

ส่วนผู้ที่มีศรัทธาอันแรงกล้า ได้จัดไทยทานมาถวายแก่พระสงฆ์ผู้ทรงศีล สดับรับฟังพระธรรมเทศนา อุตสาหะบำเพ็ญทานบารมี ก่อสร้างกองกุศลโดยไม่ประมาทในชีวิตความเป็นอยู่ของตน แม้ว่าได้ดับชีพวายชนม์จากมนุษย์โลก ก็จะได้ไปบังเกิดเป็นเทพบุตร เทพธิดาในสวรรค์ จะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติในวิมานทองคำด้วยอำนาจกุศลบุญราศรีที่ตนได้บำเพ็ญในเดือนสารทแล้วอุทิศไปให้แก่บิดามารดาและญาติทั้งหลายของตน โดยเป็นผู้ประกอบด้วยกตัญญูกตเวทิตาธรรม ย่อมอำนวยประโยชน์โสตถิผลแก่ตนและเปรตชนผู้ล่วงลับไปเป็นอันดี ดังที่พระเจ้าพิมพิสารทรงกระทำเป็นตัวอย่าง

เปรตพระญาติพิมพิสารราชา

เปรตพระญาติพิมพิสารราชา


ครั้งพระศาสนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า “พระปุสสะ” บรมโลกนาถ ปรากฏในโลก ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารเกิดเป็นขุนคลัง รับจัดการถวายทานแด่พระสงฆ์ ซึ่งมีองค์พระปุสสะพุทธเจ้าเป็นประมุข ตามพระบัญชาของพระกุมารสามพระองค์ ผู้เป็นนายขุนคลังนั้น ครั้นรับหน้าที่ใหญ่ ต้องจัดการเลี้ยงพระสงฆ์มากมายทุกวัน จึงไปเรียกเอาญาติของตนหลายคนมาช่วยทำงานในโรงครัว และช่วยเลี้ยงพระ คนพวกนี้มาทำงาน ตอนแรกๆ ก็ดีอยู่ แต่พอหลายวันผ่านไปชักเกิดความประมาทขึ้น แอบบริโภคอาหารก่อนพระสงฆ์บ้าง แอบนำอาหารที่เขาทำไว้เพื่อถวายพระสงฆ์ไปให้แก่บุตรภรรยาของตนที่บ้านบ้าง ทำอยู่ดังนี้เป็นนิจเสมอมา ตามวิสัยของคนโลภ ซึ่งเป็นผู้ท้าทาย ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญ นรกสวรรค์ ครั้นถึงคราวตาย พระราชกุมารทั้งสามกับขุนคลังก็ได้ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรในสรวงสวรรค์ แต่ว่าพวกคนโลภเหล่านั้นต้องลงไปเกิดในนรกสิ้นกาลนาน ครั้นพ้นโทษจากนรกแล้วจึงเกิดในเปรตวิสัย ครั้งสุดท้ายบังเกิดเป็นปรทัตตูปชีวีเปรต คือ เปรตประเภทที่กำลังพูดถึงอยู่นี้    เปรตพวกนี้ต้องหิวโหยอดอยากอยู่นาน เพราะไม่มีใครทำบุญอุทิศให้

ครั้นล่วงไปถึงสมัยแห่งสมเด็จพระกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์แรกในภัทรกัปนี้ ประชาชนได้ฟังเทศน์รู้ธรรมแล้ว เกิดปัญญา รู้จักบำเพ็ญบุญละบาป ทำใจให้สงบ จึงก่อสร้างกองการกุศล ทำบุญสุนทรทาน แล้วแผ่ส่วนกุศลราศีไปถึงญาติๆของตนในเปรตวิสัย เปรตทั้งหลายที่เป็นญาติของใคร ครั้นเขาแผ่ส่วนบุญไปให้ ต่างก็ดีเนื้อดีใจ ยกมือขึ้นท่วมหัวอนุโมทนา สาธุการส่วนบุญ ! ก็พ้นจากเปรตวิสัยในโลกเปรต ไปเกิดในภูมิอื่นตามแต่ยถากรรมเนื่องจากว่าเปรตทั้งหลายผู้เป็นญาติขุนคลัง ครั้นเห็นหมู่เพื่อนเปรตของตนได้ส่วนบุญจากญาติ พ้นทุกข์ไปตามๆ กันเช่นนั้น แต่ว่าตนไม่มีใครอุทิศให้ ยังต้องเป็นเปรตอยู่ตามเดิม ก็มีความน้อยใจ เสียใจอย่างสุดซึ้ง ! ในที่สุดถึงกับพากันไปเฝ้าสมเด็จพระกกุสันโธพุทธเจ้า แล้วทูลถามว่า

“ข้าพระบาททั้งหลายจักได้อาหาร และจักพ้นจากภาวะความเป็นเปรตนี้เมื่อไหร่หนอ ? พระเจ้าข้า” พระพุทธองค์จึงมีพุทธฎีกา ตรัสว่า

“ในศาสนาของเรานี้ ท่านจักยังไม่พ้นก่อน ! ต่อเมื่อเราตถาคตนิพพานไปแล้วนานแสนนาน แผ่นดินสูงขึ้น ๑ โยชน์ พระพุทธเจ้าทรงข้ามพ้นจากทุกข์ในวัฏฏสงสารอย่างสง่างาม พระนามว่า “โกนาคมน์” จักมาตรัสรู้ในโลกนี้ ขอท่านทั้งหลายจงคอยเข้าไปถาม พระโกนาคมน์ นั้นเถิด

ครั้นศาสนาแห่งพระกกุสันโธ เสื่อมสิ้นไปจากโลกนี้แล้ว พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโกนาคมน์ก็อุบัติขึ้นในโลก เปรตทั้งหลายเหล่านั้นจึงเข้าไปทูลถามพระองค์ผู้ทรงมีพระมหากรุณาจึงพุทธฎีกาตรัสว่า

“แม้ในศาสนาของเรานี้ ท่านทั้งหลายก็ยังไม่พ้นจากเปรตวิสัย ต่อเมื่อเรานิพพานไปแล้วแผ่นดินสูงขึ้น ๑ โยชน์ พระพุทธเจ้าพระนามว่า “กัสสโป” จักมาตรัสรู้ในโลกนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงอดใจรอ คอยถามพระกัสสโปนั้นเถิด”


เปรตทั้งหลาย ! ก็อดกลั้นเสีย ซึ่งความอยากพยายามอดทน ต่อความลำบากหิวโหยอยู่ตลอดกาลนาน จนกระทั่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า “กัสสโป” มาเสด็จอุบัติตรัสรู้ในโลกนี้ จึงพากันเข้าไปเฝ้าทูลถามพระองค์จึงทรงมีพระมหากรุณาตรัสบอกว่า


“แม้ในศาสนาของเรานี้ ท่านทั้งหลายก็ยังไม่พ้นจากเปรตวิสัย ยังไม่ได้รับส่วนบุญ ต่อเมื่อเราเข้าสู่นิพพานแล้ว แผ่นดินสูงขึ้นได้ ๑ โยชน์ จักมีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า “พระสมณโคดม” บรมโลกุตมาจารย์ผู้ยังชนให้ชื่นชมยินดี มาตรัสรู้ในโลก


ในครั้งนั้นจักมีขิตติยาธิบดี ผู้เป็นญาติเก่าของท่านทั้งหลายพระนามว่า “พิมพิสาร” จะถวายทานแล้วอุทิศส่วนกุศลแผ่บุญทานให้แก่ท่านๆ ก็จะพ้นจากเปรตวิสัยแลจักได้บริโภคอาหารในกาลครั้งนั้น”ครั้นสมเด็จพระกัสสปทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระพุทธฎีกาตรัสฉะนี้ เปรตทั้งหลายเหล่านั้นก็กระหยิ่มยิ้มย่อง ดีเนื้อดีใจราวกับว่าตนจะได้ในวันพรุ่ง ยับยั้งอยู่สิ้นพุทธันดรหนึ่ง


ครั้นถึงพุทธุปบาทกาลนี้พระสมณโคดมบรมครูของเรามาตรัสรู้ในโลก โปรดพระเจ้าพิมพิสารให้ได้สำเร็จพระโสดาปัตติผล ตั้งอยู่ในอจลศรัทธา มีความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัยแล้ว ท้าวเธอก็ทรงจัดแจงเครื่องบิณฑบาตถวายแด่พระพุทธองค์ พร้อมกับพระสงฆ์แล้ว ก็หาได้ทรงกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไม่ เพราะขัตติยาบดี มีพระทัยวุ่นวายไปด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ทรงครุ่นคิดอยู่เพียงว่า จะก่อสร้างพระคันธกุฎีถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงคุณอันล้ำเลิศประเสริฐสุดได้อย่างไร ? เป็นเหตุให้ทรงลืมที่จะแผ่ส่วนพระราชกุศล


ปรทัตตูชีวีเปรตพวกนั้นมารอตั้งนานแล้ว เพราะพุทธดำรัสแห่งพระกัสสปสัมพุทธเจ้า ยังก้องอยู่ในโสตแห่งตนว่าจะพ้นเปรตวิสัย ! ได้บริโภคข้าวปลาอาหารในสมัยที่พระเจ้าพิมพิสาร ทำกุศลทานในศาสนาของพระสมณโคดมของเรานี้ จึงต่างก็หวังอยู่เต็มที่ดีเนื้อดีใจว่า “เวลาวันนี้จักได้ส่วนบุญ”

จึงพากันมาคอยอยู่โดนรอบพระราชนิเวศน์ เพื่อจะคอยอนุโมทนาส่วนกุศล ครั้นเห็นพระองค์ทรงเฉย ไม่อุทิศให้แต่ประการใดก็เศร้าใจยิ่งนัก ผิดหวังไม่สมความคิดที่รอมานานนักหนา ! ในเวลากลางคืนจึงพากันร้องโอดโอย สำแดงอาหารหิวโหยด้วยสำเนียงเปรตให้ได้ยินเฉพาะแต่องค์พิมพิสารราชา เมื่อพระองค์ได้สดับเสียงเปรตก็ทรงสะดุ้งจิตตกพระทัยเป็นกำลัง รุ่งเช้าจึงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า


“ข้าพระบาทได้สดับเสียงอันดังพิลึกพิลั่นน่าสยดสยองดังนี้ เหตุผลจะมีดังฤา”“ดูกรบพิตร ! พระราชสมภาร อย่าได้ทรงกลัวเลย ลามกอันใดอันหนึ่งจะได้บังเกิดแก่พระองค์นั้นหามิได้ สำเนียงที่ทรงสดับนั้นเป็นเสียงฝูงเปรตผู้เป็นญาติของพระองค์ อดอยากมาช้านาน มาคอยรับส่วนกุศลอันบพิตรพระราชสมภารบำเพ็ญแล้ว อุทิศให้ ครั้นมิได้รับส่วนกุศลสมดังที่ตนปรารถนา จึงมาร้องทวงเอาด้วยเสียงอันดัง”


ครั้นได้ทรงสดับพระพุทธฎีกาดังนี้ องค์ขัตติยาธิบดีจึงทูลเกล้าถวายน้ำทักขิโณทก แล้วอุทิศส่วนกุศลว่า 


อิทังโน ญาตีนัง โหตุ สุขิตาโหนตุ ญาตะโญ ขอผลทานทั้งหลายเหล่านี้จงสำเร็จแก่ปวงญาติทั้งหลายของพวกข้าพเจ้าด้วยเถิด”




สระโบกขรณีเดียรดาษ ด้วยปทุมชาติทั้งหลายก็ปรากฏเกิดขึ้นแก่เหล่าเปรต ในขณะมาตรว่าพระองค์ออกพระโอษฐ์อุทิศจบลง 



เปรตทั้งหลายต่างก็ดีใจพากันลงอาบดื่มกินน้ำในสระโบกขรณี สรีระเนื้อตัวมีสีดังทอง ความหิวกระหายระงับไปหมดสิ้น สมเด็จพระภูมินทร์จึงถวายข้าวยาคู ข้าวสวย และสรรพาหาร แล้วอุทิศให้ โภชนาหารอันเป็นทิพย์ก็บังเกิดแก่เปรตทั้งหลาย ต่อมาเมื่อขัตติยาบดีถวายผ้าเสนาสนะคันธกุฎี แล้วทรงอุทิศให้ ผ้าทิพย์และวิมาน ก็บังเกิดขึ้นแก่เขา ตามจำนวนวัตถุทานที่ทรงอุทิศ

เมื่อได้อนุโมทนาด้วยกุศลจิต อันเป็นส่วนหนึ่งของบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (มีทาน ศีล ภาวนา และการอ่อนน้อม การช่วยขวนขวายในบุญ การให้ส่วนบุญ การอนุโมทนา การฟังธรรม การแสดงธรรม การทำความเห็นให้ตรง) เกิดเป็นปัตตานุโมทนามัย คือ บุญกุศลอันเกิดจากการอนุโมทนาส่วนบุญที่คนอื่นทำแล้วอุทิศให้แก่ตน เปรตทั้งหลายก็พ้นจากเปรตวิสัยภูมิโลกเปรต เปลี่ยนเพศไปบังเกิดเป็นเทพบุตร เสวยสุขสำราญรื่นเริงยิ่งนักในสรวงสวรรค์ ผลบุญจะสำเร็จแก่เขา คือ๑.     ทานที่พวกญาติทั้งหลาย และหมู่มิตรในมนุษย์โลกนี้ บำเพ็ญทานโดยถวายแด่ท่านผู้มีศีล ถวายแด่สงฆ์ โดยไม่เฉพาะเจาะจง ซึ่งเรียกว่า “สังฆทาน”๒.     ครั้นเขาถวายแล้ว ต้องอุทิศกุศลให้เปรต๓.     เปรตตนนั้นต้องมาคอยรับส่วนบุญกุศล แล้วมีจิตอนุโมทนา ผลบุญจึงสำเร็จแก่พวกปรทัตตูปชีวีเปรต

ที่มา http://thammadeedee.blogspot.com/2011/03/blog-post_07.html